LINE_ALBUM_2022_23.5.19_๒๒๐๕๒๐
การรับประทานอาหารตามกรุ๊ปเลือด อาจไม่ใช่เทรนด์ใหม่ แต่ยังคงอยู่ในกระแสของคนรักสุขภาพมาอย่างยาวนาน ซึ่งเทรนด์นี้ได้ริเริ่มมาจากการศึกษาของ Dr.Perer J.D’Adammo ผู้ที่ได้รับรางวัลแพทย์ธรรมชาติบำบัดยอดเยี่ยมจากสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ.1990 และได้ใช้เวลาศึกษาเรื่องการรับประทานให้เหมาะสมตามกรุ๊ปเลือดมานานกว่า 30 ปี จนได้ข้อสรุป และเขียนเป็นหนังสือ Eat Right for Your Type ซึ่ง Fresh Club จะขอสรุปเป็นข้อ ๆ เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจและเห็นภาพง่ายขึ้น

#สารเคมีในเลือด VS อาหาร

• เลือดแต่ละกรุ๊ป A B O และ AB มีสารเคมีในเลือดที่ต่างกัน โดยมีแอนติเจน เป็นตัวกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

• สารเคมีในเลือดที่ต่างกัน ทำให้ความสามารถในการย่อยอาหารแตกต่างกัน

• อาหารทุกชนิดมีโปรตีนที่เป็นอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติเหนี่ยวนำและจับเกาะติดเลือดที่เราเรียกว่า ‘เลกติน’

• ถ้าเรากินอาหารที่มีเลกตินไม่เหมาะกับเลือดของตัวเอง จะทำให้เลกตินเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบย่อยอาหาร การเผาผลาญ การสร้างอินซูลิน และความสมดุลของฮอร์โมน

• ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเกิดการย่อยไม่หมด ก็จะทำให้มีสารตกค้างในร่างกายและเน่าเสีย เมื่อถูกดูดซึมกลับไปอีกครั้งก็จะทำให้ร่างกายป่วยง่ายขึ้น

• ส่งผลให้ป่วยเป็นโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ และมีความเสื่อมตามเซลล์และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เร็วขึ้น

แม้ในปัจจุบัน จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนแนวคิดนี้ การแต่การลองทานก็ไม่เสียหาย ซึ่งมีผู้ทดลอง อย่าง คุณสุวิมล สุธีโสภณ ต้นตำรับอาหารแนว blood type cuisine ในชื่อ The Third Floor อาคารวีรสุ ถนนวิทยุ เป็นผู้ที่ศึกษา และทดลองกินอาหารตามกรุ๊ปเลือดมานานกว่า 3 ปี เธอบอกว่า การทานแบบนี้นอกจากจะไม่ทรมานตัวเองจนเกินไป เพียงแต่ละของที่ห้ามให้น้อยลง กินของที่เหมาะกับเลือดให้มากขึ้น ซึ่งผลพลอยได้ คือ น้ำหนักลด โรคปวดตามข้อค่อย ๆ หายไป

กรด-ด่างในอาหาร VS กรดในกระเพาะของแต่ละกรุ๊ปเลือด

• เมื่อเราทานอาหาร จะถูกย่อยโดยกรดในกระเพาะอาหาร



• ถ้ามีกรดในกระเพาะมากก็จะย่อยอาหารที่มีกรดสูงได้ดี



• หากเรามีกรดในกระเพราะต่ำ และยังทานอาหารที่มีกรดมาก เช่น เนื้อสัตว์ แป้ง หรือไขมัน ก็จะไปเพิ่มความเป็นกรดและความเข้มข้นของเลือด ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง อาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจขาดออกซิเจน จนเกิดการช็อกหรือสลบได้


• เรียงลำดับ กรุ๊ปเลือดที่มีกรดในกระเพาะอาหารสูงไปยังกรดในกระเพาะต่ำ คือ O > B > AB > A

**แม้กรุ๊ป O จะเป็นกรุ๊ปที่รับประทานเนื้อสัตว์ได้มากที่สุด แต่ก็ต้องกินผักในปริมาณมากด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการชดเชย ป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียสมดุลจนเกิดโรคได้

และในฐานะที่ Fresh Club เป็นผู้จัดจำหน่ายผลไม้ เราขอเลือกเฉพาะประเด็น ผลไม้ที่ควรกินและไม่ควรกิน ของแต่ละกรุ๊ปเลือดมาฝากค่ะ

กรุ๊ป O

คนกรุ๊ปโอ มีกระเพาะที่มีความเป็นกรดสูง ทำให้ย่อยอาหารได้ดีกว่ากรุ๊ปเลือดอื่น ๆ แต่เนื่องจากกรดในกระเพาะมาก จึงควรหาผลไม้ที่ช่วยสร้างความสมดุลในกระเพาะเช่นกัน และระบบการเผาผลาญไม่ค่อยดี จึงทำให้อ้วนง่าย

ผลไม้ที่ควรกิน: กินได้แทบทุกชนิด โดยเฉพาะผลไม้สีแดงเข้มหรือม่วง และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น เชอร์รี่ และบลูเบอร์รี่ ซึ่งจะช่วยสร้างสมดุลให้ระดับกรดในกระเพาะอาหารได้  รวมไปถึงผลไม้ตระกูลเกรปฟรุต เนื่องจากสามารถช่วยลดน้ำหนักได้ดี

ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง: ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ กีวี มะขาม มะพร้าว แคนตาลูป เพราะมีความเป็นกรดสูง ถ้ากินมาก ๆ จะทำให้มีกรดในกระเพาะมากเกินไป

กรุ๊ป B

คนกรุ๊ปบี เป็นกรุ๊ปที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นทางอาหารสูง คือ กินได้ทั้งเนื้อสัตว์และผักในปริมาณที่พอดี แต่ปัญหาคือ เป็นคนอ้วนง่ายและภูมิคุ้มกันบกพร่องง่าย

ผลไม้ที่ควรกิน: กินได้แทบทุกชนิด เช่น แครนเบอร์รี่, สับปะรด, ลูกพลัม, ลูกพรุน, แตงโม และโดยเฉพาะ สับปะรด เพราะมีเอนไซม์ช่วยให้ย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น และมีเส้นใยอาหารสูง สร้างภูมิคุ้มกัน แถมยังช่วยทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดีอีกด้วย

ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง: ลูกพลับ ลูกแพร์ ทับทิม และอะโวคาโด หรือผลไม้รสหวาน

กรุ๊ป A

คนกรุ๊ปเอ เป็นกลุ่มที่มีกรดในกระเพาะอาหารต่ำมาก จึงเหมาะแก่การรับประทานอาหารมังสวิรัติ และสามารถรับประทานผลไม้ได้แทบทุกชนิด

ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง: มะม่วง มะละกอ กล้วย ส้ม มะพร้าว แคนตาลูป แตงโม เพราะย่อยได้ยาก เป็นตัวขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน และทำให้ระคายเคืองกระเพาะ

กรุ๊ป AB

กรุ๊ปเอบี เป็นกลุ่มผสมผสานระหว่าง เอ กับ บี แต่ไม่ต้องกินมังสวิรัติแบบกลุ่ม A รวมถึง กินเนื้อได้เท่ากรุ๊ปบี ในเรื่องของสุขภาพจะมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอคล้ายกรุ๊ป B

ผลไม้ที่ควรกิน: กินได้แทบทุกชนิดเช่นกัน เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ เชอร์รี่ สับปะรด ส้มโอ พลัม องุ่น ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ฯลฯ เพราะช่วยสร้างความสมดุลของกรดในเนื้อเยื่อ

ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง: กล้วย ฝรั่ง มะม่วง ส้ม อะโวคาโด และมะพร้าว

Post A Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Close menu